วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เวนิสวาณิช

               เรื่องเวนิสวาณิชเป็นบทพระราชนิพนธ์ที่แปลและแต่งมาจากเรื่องthe merchant of venice ของ วิลเลียม  เชกสเปียร์ผู้มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ  แต่งขึ้นในค.ศ.1595-1597  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยังคงรูปให้เป็นละครโต้ตอบตามแบบฉบับของวิลเลียม  เชกสเปียร์  และผูกถ้อยคำกลอนไทยให้คล้ายกับต้นฉบับมากที่สุด
เรื่องเวนิสวาริช  โดยย่อ
               อันโตนิโยพ่อค้าแห่งเมืองเวนิสกำลังกลุ้มใจเรื่อที่เรือสินค้าเดินทางมาถึงช้ากว่าปกติ   เกรงว่าเรือสินค้าจะอัปาง  ขณะนั้นเองบัสสานิโยเพื่อนสนิทที่เดินทางมาของยืมเงินไปเมืองเบลมอนต์เพื่อพบนางเปอร์เชียคนรัก  ผู้มั่งคั่งจากการรับมรดกมากมายเนื่องจากบิดาเธอเสียชีวิตซึ่งก่อนตายบิดาเธอได้มีเงื่อนไขว่า  "นางเปอร์เชียต้องทำพิธีเสี่ยงทายด้วยหีบ3ใบเพื่อเลือกคู่   ชายใดเลือกหีบที่มีรูปนางเปอร์เชียก็จะได้แต่งงานกับนาง  แต่ถ้าเลือกผิดชายคนนั้นก็ต้องห้ามแต่งงานลอดชีวิต"  บัสสานิโยซึ่งชอบอยู่กับนางเปอร์เชียจึงคิดจะไปร่วมงานครั้งนี้ด้วย  อันโตนิโยซึ่งมีเงินไม่มาก  จึงไปขอยืมเงินไชล็อก  พ่อค้าเงินกู้หน้าเลือดชาวยิว  ผู้เป็นศัตรูของอันโตนิโย  จำนวน3,000เหรียญ  แต่มีเงื่อนไขว่า "หากอันโตนิโยหาเงินมาคืนภายใน3เดือนไม่ได้  ข้าก็จะขอเนื้อ1ปอนด์จากร่่างกายอันโตนิโย"
             ลอเร็นโซเพื่อนบัสสานิโยชอบพออยู่กับเจ็สสิก้าลูกสาวของไชล็อกและได้พากันหนีไป  สร้างความโกรธแค้นแก่ไชล็อกอย่างมาก     
             ต่อมาเมื่องบัสสานิโยเดินทางไปถึงเมืองเบลมอนต์ก็ได้เข้าทำพิธีเลือกคู่   เจ้าชายมอร็อคโคเลือกหีบทองภายในมีกะโหลกผี  เจ้าอาร์ระคอนเลือกหีบทองภายในมีตัวจำอวดอยู่(ตัวตลก) บัสสานิโยเลือกหีบตะกั่วซึ่งภายในมีรูปนางเปอร์เชียอยู่   นางเปอร์เชียจึงดีใจมากและมอบแหวนให้แก่บัสสานิโย  
             ต่อมาลอเร็นโซและสะเลริโยถือจดหมายมาจากเมืองเวนิสว่าเรือสินค้าของอันโตนิโยอับปาง  บัสสานิโยจึงนำเรื่องไปบอกแก่นางเปอร์เชีย นางจึงมอบเงินแก่บัสสานิโย20เท่าเพื่อนำไปใช้หนี้ไชล็อก   แต่ไชล็อกไม่ต้องการ  เพราะในในคิดว่านี้เป็นโอกาสดีที่จะได้แก้แค้นอันโตนิโยที่เคยด่าว่าและทำร้ายตน  พ่อเมืองเวนิสช่วยเกลี้ยกล่อมแต่ไม่เป็นผล   นางเปอร์เชียจึงให้ลอเร็นโซถือจดหมายไปขอความช่วยเหลือจากอาจารย์เบ็ลลานิโยญาติขอนางซึ่งเป็นทนายความมาช่วยอันโตนิโย   แต่อาจารย์ไม่อยู่   นางเปอร์เชียจึงตัดสินใจปลอมตัวเป็นบัลถะสาร์ททนายความมาช่วยว่าความให้    นางกล่าวว่าา
"ไชล็อกสามารถตัดเนื้อไปจากร่างกายอันโตนิโยได้  แต่ห้ามนำเลือดจากตัวอันโตนิโยไปแม้แต่หยดเดียว  เพราะนั่นไม่มีในสัญญา    และถ้าทำเช่นนั้นจะถูกริบทรัพย์  และถ้าตัดเนื้อน้อยหรือมากว่า1ปอนด์ที่ตกลงไว้  ก็จะถูกประหารชีวิตและถูกริบทรัพย์"   ในที่สุดไชล็อกก็ถูกริบทรัพย์ไปกึ่งหนึ่ง  และให้ไชล็อกทำพินัยกรรมว่าเมื่อถึงแก่กรรมแล้วต้องยกสมบัติทั้งหมดให้แก่ลอเร็นโซผู้เป็นลูกเขย  พร้อมทั้งให้ไชล็อก
เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ด้วย  ไชล็อกจึงยอมทำตามและขอลากลับบ้าน  เพราะรู้ว่าอย่างไรตนก็ต้องแพ้ความ
       ในภายหลังเรือสินค้าของอันโตนิโยก็กลับมา  และมีอับปางบ้าง ก่อนบัลถะสาร์(นางเปอร์เชีย)จะกลับก็ได้ลองใจลอเร็นโซ โดยการของแหวน บัสานิโยก็ทำท่าจะไม่ให้ แต่ในที่สุดก็ยอมถอดแหวนให้
       เมื่อถึงเมืองเบลมอนต์  นางเปอร์ชียก็ได้ถามถึงแหวน   บัสสานิโยก็เล่าความจริงให้ฟังว่าบัลถะสาร์ซึ่งมีบุญคุณต่อเขา เพราะบัลถะสาร์ช่วยเพื่อนรักของเขาไว้  และบัลถะสาร์ก็ได้ของแหวนเป็นการตอบแทนเขาจึงต้องยอมมอบแหวนให้   ดังนั้นนางเปอร์เชียจึงไม่โกรธบัสสานิโย

ไม่มีความคิดเห็น: